Monday, February 12, 2007

ความหมายและข้อกำหนดการจัดระเบียบกิจการแพปลา

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2496
เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายจัดระเบียบกิจการแพปลา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ. 2496"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
"กิจการแพปลา" หมายความว่า การกระทำอันเป็นปกติธุระอย่างใดอย่างหนึ่ง การให้กู้ยืมเงินหรือให้เช่า ให้เช่าซื้อ ให้ยืมเรือเครื่องทำการประมง หรือสิ่งอุปกรณ์การประมง เพื่อประกอบกิจการประมง หรือทำการค้าสินค้าสัตว์นำ โดยมีข้อตกลงกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่า ผู้กู้ยืม หรือผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้ยืม จะต้องนำสินค้าสัตว์น้ำมาให้ผู้ให้กู้ยืม หรือผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้ยืม เป็นตัวแทนทำการขายสินค้าสัตว์น้ำนั้น รวมทั้งการรับเป็นตัวแทนทำการขายสินค้าสัตว์น้ำของบุคคลอื่น หรือ การขายสินค้าสัตว์น้ำโดยวิธีขายทอดตลาด หรือกิจการค้าสินค้าสัตว์น้ำ โดยวิธีอื่นใดตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีการะบุว่าเป็นกิจการแพปลา
"สินค้าสัตว์น้ำ" หมายความว่า สัตว์น้ำตามความหมายแห่งกฎหมายว่าด้วยการประมง ไม่ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ และรวมตลอดถึงผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำทุกชนิด ซึ่งเป็นวัตถุสินค้า
"สะพานปลา" หมายความว่า สถานที่หรือบริเวณซึ่งได้มีประกาศให้เป็นที่ประกอบกิจการแพปลาตามพระราชบัญญัตินี้
"ค่าบริการ" หมายความว่า เงินค่าจัดสถานที่และอำนวยความสะดวกในการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการองค์การสะพานปลาเป็นผู้คอยกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการบริหารสะพานปลา
"ผู้อำนวยการ" หมายความว่า ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลาคือผู้บริหารองค์การสะพานปลาตามนโยบายของคณะกรรมการ
"พนักงาน" หมายความว่า พนักงานองค์การสะพานปลา

"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมการประมง
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

มาตรา 5 ให้จัดตั้งองค์การขึ้นองค์การหนึ่งเรียกว่า `องค์การสะพานปลา'มีวัตถุประสงค์ดั่งต่อไปนี้

(1) จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง
(2) จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา
(3) จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง
(4) จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ให้องค์การสะพานปลามีอำนาจรวมถึง สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิ์ หรือครอบครองซึ่งทรัพย์สินต่าง ๆ การกู้ยืมเงินหรือยืมสิ่งของ ให้กู้ยืมเงินหรือให้ยืมสิ่งของ

มาตรา 6 ให้องค์การสะพานปลาเป็นนิติบุคคล ตามมาตรา 11 ให้มีคณะกรรมการองค์การสะพานปลาขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสี่คน แต่ไม่เกินหกคน ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการองค์การสะพานปลา

มาตรา 12 ประธานกรรมการและกรรมการต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย

มาตรา 14 ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการขององค์การสะพานปลาอำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
(1) วางข้อบังคับเกี่ยวกับการต่าง ๆ ตามความในมาตรา 5
(2) วางข้อบังคับการประชุมและการดำเนินกิจการของคณะกรรมการ
(3) วางข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง และการถอดถอนพนักงาน
(4) วางข้อบังคับว่าด้วยระเบียบปฏิบัติงานขององค์การสะพานปลา และข้อบังคับว่าด้วยระเบียบวินัยและการลงโทษพนักงาน
(5) กำหนดอัตราเงินเดือนของพนักงาน

ข้อห้ามและข้อกำหนดเกี่ยวกับการประกอบกิจการแพปลาตามมาตรา 29,มารตราที่30 ว่าด้วย
-ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการแพปลา เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตและเสียค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
-ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการเป็นผู้ขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตและเสียค่าธรรมเนียมตามพระบัญญัติ
ระเบียบประฎิบัติและเงื่ยนไขที่รัฐมนตรีกำหนดเกี่ยวกับกิจการแพปลาตามมาตรา 31 ดังนี้
(1) ให้ผู้ประกอบกิจการแพปลาประกอบกิจการที่สะพานปลา และปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขที่กำหนด
(2) อัตราอย่างสูงสำหรับค่านายหน้า ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบกิจการแพปลาจะพึงเรียกจากเจ้าของสินค้าสัตว์น้ำและผู้ซื้อสินค้าสัตว์น้ำ
(3) วิธีการขายทอดตลาด และการกำหนดหน่วยของน้ำหนักหรือปริมาณสินค้าสัตว์น้ำ
(4) การจอดเรือ การขนส่ง และการจราจรที่สะพานปลา
(5) ให้ผู้ประกอบกิจการแพปลาทำบัญชีและเอกสารเป็นภาษาไทยตามแบบซึ่งกำหนดไว้

บทกำหนดโทษ

มาตรา 38 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 29 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่ต่ำกว่าห้าพันบาทแต่ไม่เกินกว่าหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ

มาตรา 39 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 30 มาตรา 35 หรือฝ่าฝืนข้อกำหนดของอธิบดีออกตามความในมาตรา 31 (1) (2) (3) และ (4) หรือขัดขวางการขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำโดยองค์การสะพานปลา ตามความในมาตรา 33 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา 40 ผู้ใดไม่กรอบแบบพิมพ์ยื่น หรือแกล้งกรอกแบบพิมพ์ที่อธิบดีกำหนดไม่ครบถ้วน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของอธิบดีว่าด้วยการกรอกแบบพิมพ์นั้นหรือกรอกแบบพิมพ์เช่นว่านั้นโดยรู้อยู่ว่าเป็นเท็จ หรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารตามคำสั่งของอธิบดี หรือไม่อำนวยความสะดวกในการตรวจสอบเช่นว่านั้นตามความในมาตรา 32 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา 41 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของอธิบดีออกตามความในมาตรา 31 (4)มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

No comments: