Saturday, February 10, 2007

สถานการณ์เต่าทะเลในประเทศไทย

การอนุรักษ์เต่าทะเล จำนวนของเต่าทะเล ได้ลดปริมาณลงมาตั้งปี พ.ศ.2513 เป็นต้นมา ถึงแม้ว่าการศึกษษและการอนุรักษ์เต่าทะเลจะมีการดำเนินการมาหลายปีแล้ว โดยได้มีการจัดตั้งกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเต่าทะเลของโลกขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512 ในรูปแบบส่วนหนึ่งของสหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union of Conservation of Nature) ในปี 2518 ได้เกิดสนธิสัญญาการค้าสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ระหว่างประเทศ (Convention of International Trade in Endangered Species, CITES) ส่วนหนึ่งได้ประกาศให้เต่าทะเลทุกชนิดพันธุ์เป็นสัตว์ใน APPENDIX I ได้มีการริเริ่มด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อใช้ศึกษาให้เข้าใจถึงชีววิทยาและนิเวศวิทยาของเต่าทะเล เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพในการวางมาตราการอนุรักษ์และป้องกันการลดจำนวนลง HEAD STARTING PROGRAMME ที่ได้ดำเนินการในครั้งแรก คือ การเพาะเลี้ยงเป็นเวลาหลายเดือนแล้วปล่อยลงทะเล แม้ว่าจะมีการพยายามใช้วิธีอนุรักษ์ในรูปแบบต่าง ๆ แต่ปรากฎว่า จำนวนของเต่าทะเล ก็ลดลงเรื่อย ๆ จนถึงจุดวิกฤต ทั้งนี้ เนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งการกระทำโดยเจตนาและอุบัติเหตุ เช่น การวางอวน การลักลอบขุด ไข่เต่าทะเล มลภาวะและการสูญเสียแหล่งวางไข่ สำหรับการเพาะฟักแล้วนำมาเลี้ยงเป็นเรื่องยากที่จะดำเนินการกับเต่ามะเฟือง ซึ่งจะต้องมี การเรียนรู้อีกมาก และที่สำคัญ คือ ยังไม่มีผู้ใดทราบถึงวงจรชีวิตของเต่าทะเลในช่วงที่ใช้ชีวิตในทะเล ส่วนการเพาะเลี้ยงแล้วปล่อยนั้น ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่า สามารถที่จะเพิ่มจำนวนการอยู่รอดได้ ปัจจุบัน โครงการอนุรักษ์เต่าทะเลทั่วโลก ยังคงสนับสนุนการปล่อย ลูกเต่าทะเลทันทีที่ออกจากรัง (จากากรสัมมนาเรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเล ของกลุ่มประเทศอาเซี่ยนและโอเชี่ยนเนีย ณ ประเทศฟิลิปปินส์ 1993)
สำหรับในประเทศไทย จำนวนของเต่าทะเลได้ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ได้มีการบันทึกจำนวนเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่ที่หาดท้ายเหมือง อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา พบว่าในช่วงปี พ.ศ.2513-15 มีเต่าหญ้าและเต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่ปีละมากกว่า 400 ครั้ง แต่ในช่วงระหว่างปี 2533-2535 มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เพียง 20-40 ครั้ง เท่านั้น เป็นการลดจำนวนลงถึงสิบเท่าในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา จากการประสานงานกับอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่และสถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล จังหวัดภูเก็ต พบว่า จำนวนของเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่มีจำนวนลดลงเช่นเดียวกัน
ดร.จีน มอร์ติเมอร์ (2531) ได้เสนอรายงานถึงกองทุนอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งประเทศไทย และกองทุนอนุรักษ์สัตว์โลกแห่งสหรัฐอเมริกา ถึงจำนวนของเต่าทะเลที่มีในประเทศไทยและสาเหตุของการลดจำนวนลง อีกทั้งได้เสนอแนะวิธีการอนุรักษ์ที่เหมาะสมกว่าการเพาะเลี้ยงแล้วปล่อย คือ การคุ้มครองพื้นที่ถิ่นวางไข่ตามธรรมชาติของเต่าทะเล ไม่ให้ถูกทำลายหรือถูกรบกวน หรือทำให้เสื่อมสภาพ แต่รายงานฉบับนี้ ได้ถูกละเลยไปอย่างน่าเสียดาย
สำหรับบริเวณหาดท้ายเหมืองส่วนที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์เต่ามะเฟือง และเต่าหญ้า ในรูปแบบคืนบ้านให้เต่าทะเล โดยแบ่งการปฏิบัติเป็น 2 ภาค คือ ในช่วงแรก พ.ศ.2535-2538 เน้นเรื่องกลยุทธการป้องกัน ควบคู่กับการประชาสัมพันธ์ โดยการขอความร่วมมือจากทหารเรือ หน่วยงานที่สนใจ โดยเฉพาะอาสาสมัครซึ่งมีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ร่วมกันเดินลาดตระเวนป้องกันการลักลอบขุดไข่เต่าทะเล พร้อมทั้งเริ่มต้นบันทึกข้อมูลทางกายภาพ และพฤติกรรมของเต่าทะเล เพื่อนำไปเป็น แนวทางในการจัดการทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อไป ไข่เต่าทะเลที่พบก็จะนำมาเพาะฟักตามธรรมชาติในเรือนเพาะฟักริมหาด เมื่อออกเป็นตัวก็ ปล่อยให้ลงทะเลตามธรรมชาติ เหลือเก็บไว้ไม่เกิน 10% เพื่อใช้ศึกษาและใช้ในด้านประเพณีช่วงที่สอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 เป็นต้นไป จะไม่อนุญาตให้ผู้ใดรวมทั้งเจ้าหน้าที่เข้าไปรบกวนหาดในฤดูวางไข่ของเต่าทะเล การศึกษา บันทึกข้อมูลก็ให้สังเกตจากบนหอคอย เมื่อพบว่า มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ จึงจะอนุญาติให้นักท่องเที่ยวลงไปชมได้โดยให้อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ การดำเนินการข้าต้นนี้ต่อไปทุกอุทยาน แห่งชาติทางทะเลก็จะได้เป็นแนวทางในการดำเนินการและการจัดการ ไม่เฉพาะแต่เรื่องของเต่าทะเลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสัตว์ที่กำลังสูญพันธุ์ หรือสัตว์หายากประเภทอื่นด้วย

No comments: