Saturday, February 24, 2007

มาตรการอนุรักษ์เต่าทะเล.

มาตรการอนุรักษ์เต่าทะเล ประกอบด้วย
1. เพิ่มมาตรการคุ้มครองป้องกันการลักลอบเก็บไข่เต่าทะเล พยายามตรวจตราแหล่งวางไข่เต่าทะเล โดยร่วมมือกันกับชุมชนในท้องถิ่นโดยการจัดตั้ง "กลุ่ม" หรือ "ชมรม" การอนุรักษ์เต่าทะเลและสิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้น โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาไข่เต่าทะเลไว้ให้ได้และให้มีการเพาะฟักขยายพันธุ์ในธรรมชาติให้มากที่สุด โดยการแต่งตั้งให้เป็นอาสาสมัครอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เพื่อช่วยทางราชการในการป้องกันผู้ลักลอบเก็บไข่เต่าทะเลไปขาย ตลอดจนรณรงค์งดการบริโภคไข่เต่าทะเล เพื่อลดการทำลายไข่เต่าทะเลในธรรมชาติ
2. ป้องกันการล่าเต่าทะเลเพื่อนำเนื้อเต่าทะเลมาบริโภค ซึ่งมีอยู่ในหลายประเทศ ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่นิยมบริโภคเนื้อเต่าทะเลโดยเฉพาะชาวเล (ไทยใหม่) เจ้าหน้าที่ต้องพยายามไปตรวจตราตามแพปลาใหญ่ ๆ เพราะแพปลาเป็นแหล่งขายเนื้อเต่าทะเลแหล่งใหญ่ที่สุด
3. เข้มงวดตรวจตราร้านค้าที่ขายกระดองเต่าทะเลสตัฟฟ์หรือนำกระดองเต่าทะเลมาประดิษฐ์เป็นเครื่องประดับต่าง ๆ
4. ป้องกันแหล่งขึ้นวางไข่เต่าทะเลบนชายหาด ไม่ให้ถูกทำลายมากกว่านี้ด้วยการพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งจำเป็นต้องสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มีแสงไฟและมีผู้คนพลุกพล่าน หาทางฟื้นฟูแหล่งวางไข่เต่าทะเลให้คงสภาพเหมาะสมที่เต่าทะเลจะขึ้นวางไข่ต่อไป
5. เข้มงวดตรวจตราการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการทำการประมงอวนลาก อวนรุน ในระยะ 3 กิโลเมตรจากชายฝั่ง นอกจากเป็นการทำลายเต่าทะเลโดยตรงแล้ว การลากอวนยังทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของเต่าทะเลอีกด้วย เห็นสมควรมีการปราบปรามการประมงที่ผิดกฎหมายอย่างจริงจัง และควรกำจัดเครื่องมืออวนลากให้มีจำนวนให้เหมาะสมกับจำนวนทรัพยากรสัตว์น้ำสำหรับอวนรุนไม่ควรให้มีอีกต่อไป
6. ป้องกันแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของเต่าทะเล พยายามรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของเต่าทะเลให้คงสภาพสมบูรณ์ โดยทั่วไปแล้ว ได้แก่ บริเวณชายฝั่งแนวปะการัง, หญ้าทะเล เป็นต้น
7. อบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ปฏิบัติให้เข้าใจมาตรการการอนุรักษ์เต่าทะเล โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490, พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เป็นต้น และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์เต่าทะเลอย่างจริงจังและจริงใจ
8. จัดอบรมนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ชาวประมงและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเลของไทย เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์เต่าทะเล ให้เกิดแรงร่วมมือร่วมใจช่วยกันอนุรักษ์เต่าทะเลให้ได้ผล
9. การประชาสัมพันธ์ การรณรงค์ต่าง ๆ โดยการทำแผ่นพับ โปสเตอร์ จุลสารต่าง ๆ โดยความร่วมมือกันทั้งภาครัฐและเอกชน
10. การจัดงานปล่อยลูกเต่าทะเล พร้อมกับจัดนิทรรศการเผยแพร่เรื่องเต่าทะเล เป็นวิธีการส่งเสริมการอนุรักษ์ที่ได้ผลทางหนึ่ง การปล่อยลูกเต่าทะเลเป็นการให้ประชาชนโดยทั่วไปมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทางหนึ่ง คนไทยมีความเชื่อตามขนบธรรมเนียมประเพณี ว่าการปล่อยสัตว์น้ำเป็นการให้ชีวิตใหม่ จะได้บุญกุศลมากและมีอายุยืนยามเหมือนเต่า อีกประการหนึ่งเป็นการปลูกฝังให้ประชาชนและเอกชนหันมาช่วยกันอนุรักษ์เต่าทะเลให้เหลือไว้เป็นสมบัติของธรรมชาติและประเทศสืบไป ส่งเสริมให้ภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการจัดงานปล่อยเต่าทะเล เช่น จังหวัดภูเก็ต มีกลุ่มอนุรักษ์เต่าทะเลบ้านไม้ขาว ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จัดพิธีปล่อยเต่าทะเล ขึ้นในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ หรือวันประมงแห่งชาติ ณ บริเวณชายทะเลหาดไม้ขาว นอกจากนี้โรงแรมในเครือลากูน่า กรุ๊ป ตำบลบางเทา อำเภอถลาง จังหวัดภูเกต ก็มีการจัดงานปล่อยเต่าทะเลทุก ๆ ปีเช่นเดียวกัน
11. รักษาประเพณี "การเดินเต่า" ของคนภูเก็ต - พังงา เอาไว้ ชายหาดบริเวณจังหวัดภูเก็ต พังงา เต่าทะเลจะขึ้นวางไข่ ประมาณเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์ ของทุกปี การเดินเต่า คือ การออกไปเดินชายหาดที่มีเต่าทะเลขึ้นวางไข่ในตอนกลางคืนโดยเฉพาะคืนเดือนมืดเป็นคณะเป็นกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อเป็นการจัดกิจกรรมให้ประชาชนได้มีโอกาสร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลกับทางราชการอีกด้วย ในปัจจุบันชายหาดที่มีการเดินเต่าทะเล ได้แก่ หาดไนยาง และหาดท้ายเหมือง แต่โอกาสที่จะได้เห็นเต่าทะเลคลานขึ้นมาวางไข่มีน้อยมาก เพราะหาดทรายถูกรบกวน จำนวนเต่าก็มีน้อย
12. จัดสัมมนาในหัวข้อ "แนวทางการอนุรักษ์เต่าทะเล" โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กรมประมง กรมป่าไม้ กองทัพเรือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม กลุ่ม, ชมรมอนุรักษ์ฯ และองค์กรเอกชนต่าง ๆ เพื่อมาระดมความคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเล
13. ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเลให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน โดยเฉพาะพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ซึ่งใช้มาเป็นเวลานาน และได้แก้ไขเพียง 2 ครั้ง คือ พ.ศ. 2496 และ พ.ศ. 2528 เท่านั้น มีการลงโทษแก่ผู้กระทำผิดเพียงเล็กน้อย ทำให้ประชาชนไม่เกรงกลัว หรือขาดความเคารพต่อกฎหมาย
14. ให้ความสำคัญด้านการอนุรักษ์เต่าทะเลแก่องค์กรเอกชนต่าง ๆ ให้มากขึ้น ได้แก่ กลุ่ม หรือชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือมูลนิธิที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันองค์กรเอกชนเหล่านี้มีบทบาทด้านการอนุรักษ์มาก
















การอนุรักษ์เต่าทะเลตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535

การอนุรักษ์เต่าทะเลตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535
ในเรื่องของการอนุรักษ์เต่าทะเล ปัจจุบันทางราชการให้ความสำคัญเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นกรมประมง กรมป่าไม้ และกองทัพเรือ โดยเฉพาะเกาะมันใน จังหวัดระยอง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานกรรมสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างเป็นศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเล และได้พระราชทานชื่อว่า "โครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล" อยู่ในความดูแลของกรมประมง ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล แหลมพันวา ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ได้มีการเลี้ยงและเพาะพันธุ์ไข่เต่าทะเลขึ้นดำเนินการศึกษาชีววิทยาและติดตามดูการดำรงชีวิตและพฤติกรรมของเต่าทะเล ตลอดจนดำเนินการปล่อยเต่าทะเลลงสู่ทะเล การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ในอันที่จะรักษาพันธุ์เต่าทะเลเอาไว้ตลอดไป ตลอดจนทำการเพาะพันธุ์เต่าทะเลในบ่อเพาะพันธุ์ โดยการเลี้ยงเต่าทะเลจนเจริญเติบโต เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์และทำการเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์เต่าทะเลในบ่อเพาะพันธุ์ ในการดำเนินการอนุรักษ์เต่าทะเล ควรคำนึงถึงธรรมชาติและชีววิทยาของเต่าทะเลด้วย โดยเฉพาะในการนำไข่เต่ามาทำการเพาะฟัก และการปล่อยลูกเต่าในเทศกาลและสถานที่ต่าง ๆ แต่ในทางตรงข้ามในการดำเนินการลักษณ์นี้ ถ้าไข่เต่าทะเลส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในกิจกรรมเหล่านี้ เช่น การนำลูกเต่าทะเลไปปล่อยในแหล่งต่าง ๆ ก็จะมีโอกาสสูงจะเกิดการกระทบกระเทือนต่อประชากรเต่าทะเลในธรรมชาติ โดยหลักการแล้วควรให้ไข่เต่าทะเลประมาณ 50-70% ได้มีการฟักตัวเกิดและกลับสู่ทะเลตามธรรมชาติ แต่มีหลายแห่งชาวบ้านหรือชาวประมงท้องถิ่น ขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ จึงไม่สามารถปล่อยให้เต่าทะเลเพาะฟักในธรรมชาติได้ จำเป็นต้องเก็บไข่เต่ามาฟัก การอนุรักษ์เต่าทะเล จะกระทำประเทศใดประเทศหนึ่งจะได้ผลเต็มที่ จะต้องมีการร่วมมือกันในระหว่างประเทศหรืออย่างน้อยต้องมีการประสานงานกันในระดับภูมิภาค เพราะเต่าทะเลเป็นสัตว์ที่มีการโยกย้ายถิ่น แหล่งอาหาร แหล่งอาศัยที่กว้างไกล

Monday, February 12, 2007

ความหมายและข้อกำหนดการจัดระเบียบกิจการแพปลา

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2496
เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายจัดระเบียบกิจการแพปลา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ. 2496"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
"กิจการแพปลา" หมายความว่า การกระทำอันเป็นปกติธุระอย่างใดอย่างหนึ่ง การให้กู้ยืมเงินหรือให้เช่า ให้เช่าซื้อ ให้ยืมเรือเครื่องทำการประมง หรือสิ่งอุปกรณ์การประมง เพื่อประกอบกิจการประมง หรือทำการค้าสินค้าสัตว์นำ โดยมีข้อตกลงกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่า ผู้กู้ยืม หรือผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้ยืม จะต้องนำสินค้าสัตว์น้ำมาให้ผู้ให้กู้ยืม หรือผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้ยืม เป็นตัวแทนทำการขายสินค้าสัตว์น้ำนั้น รวมทั้งการรับเป็นตัวแทนทำการขายสินค้าสัตว์น้ำของบุคคลอื่น หรือ การขายสินค้าสัตว์น้ำโดยวิธีขายทอดตลาด หรือกิจการค้าสินค้าสัตว์น้ำ โดยวิธีอื่นใดตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีการะบุว่าเป็นกิจการแพปลา
"สินค้าสัตว์น้ำ" หมายความว่า สัตว์น้ำตามความหมายแห่งกฎหมายว่าด้วยการประมง ไม่ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ และรวมตลอดถึงผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำทุกชนิด ซึ่งเป็นวัตถุสินค้า
"สะพานปลา" หมายความว่า สถานที่หรือบริเวณซึ่งได้มีประกาศให้เป็นที่ประกอบกิจการแพปลาตามพระราชบัญญัตินี้
"ค่าบริการ" หมายความว่า เงินค่าจัดสถานที่และอำนวยความสะดวกในการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการองค์การสะพานปลาเป็นผู้คอยกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการบริหารสะพานปลา
"ผู้อำนวยการ" หมายความว่า ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลาคือผู้บริหารองค์การสะพานปลาตามนโยบายของคณะกรรมการ
"พนักงาน" หมายความว่า พนักงานองค์การสะพานปลา

"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมการประมง
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

มาตรา 5 ให้จัดตั้งองค์การขึ้นองค์การหนึ่งเรียกว่า `องค์การสะพานปลา'มีวัตถุประสงค์ดั่งต่อไปนี้

(1) จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง
(2) จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการแพปลา
(3) จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง
(4) จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ให้องค์การสะพานปลามีอำนาจรวมถึง สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิ์ หรือครอบครองซึ่งทรัพย์สินต่าง ๆ การกู้ยืมเงินหรือยืมสิ่งของ ให้กู้ยืมเงินหรือให้ยืมสิ่งของ

มาตรา 6 ให้องค์การสะพานปลาเป็นนิติบุคคล ตามมาตรา 11 ให้มีคณะกรรมการองค์การสะพานปลาขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสี่คน แต่ไม่เกินหกคน ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการองค์การสะพานปลา

มาตรา 12 ประธานกรรมการและกรรมการต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย

มาตรา 14 ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการขององค์การสะพานปลาอำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
(1) วางข้อบังคับเกี่ยวกับการต่าง ๆ ตามความในมาตรา 5
(2) วางข้อบังคับการประชุมและการดำเนินกิจการของคณะกรรมการ
(3) วางข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง และการถอดถอนพนักงาน
(4) วางข้อบังคับว่าด้วยระเบียบปฏิบัติงานขององค์การสะพานปลา และข้อบังคับว่าด้วยระเบียบวินัยและการลงโทษพนักงาน
(5) กำหนดอัตราเงินเดือนของพนักงาน

ข้อห้ามและข้อกำหนดเกี่ยวกับการประกอบกิจการแพปลาตามมาตรา 29,มารตราที่30 ว่าด้วย
-ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการแพปลา เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตและเสียค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
-ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการเป็นผู้ขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตและเสียค่าธรรมเนียมตามพระบัญญัติ
ระเบียบประฎิบัติและเงื่ยนไขที่รัฐมนตรีกำหนดเกี่ยวกับกิจการแพปลาตามมาตรา 31 ดังนี้
(1) ให้ผู้ประกอบกิจการแพปลาประกอบกิจการที่สะพานปลา และปฏิบัติตามระเบียบและเงื่อนไขที่กำหนด
(2) อัตราอย่างสูงสำหรับค่านายหน้า ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบกิจการแพปลาจะพึงเรียกจากเจ้าของสินค้าสัตว์น้ำและผู้ซื้อสินค้าสัตว์น้ำ
(3) วิธีการขายทอดตลาด และการกำหนดหน่วยของน้ำหนักหรือปริมาณสินค้าสัตว์น้ำ
(4) การจอดเรือ การขนส่ง และการจราจรที่สะพานปลา
(5) ให้ผู้ประกอบกิจการแพปลาทำบัญชีและเอกสารเป็นภาษาไทยตามแบบซึ่งกำหนดไว้

บทกำหนดโทษ

มาตรา 38 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 29 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่ต่ำกว่าห้าพันบาทแต่ไม่เกินกว่าหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ

มาตรา 39 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 30 มาตรา 35 หรือฝ่าฝืนข้อกำหนดของอธิบดีออกตามความในมาตรา 31 (1) (2) (3) และ (4) หรือขัดขวางการขายทอดตลาดสินค้าสัตว์น้ำโดยองค์การสะพานปลา ตามความในมาตรา 33 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา 40 ผู้ใดไม่กรอบแบบพิมพ์ยื่น หรือแกล้งกรอกแบบพิมพ์ที่อธิบดีกำหนดไม่ครบถ้วน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของอธิบดีว่าด้วยการกรอกแบบพิมพ์นั้นหรือกรอกแบบพิมพ์เช่นว่านั้นโดยรู้อยู่ว่าเป็นเท็จ หรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารตามคำสั่งของอธิบดี หรือไม่อำนวยความสะดวกในการตรวจสอบเช่นว่านั้นตามความในมาตรา 32 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา 41 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของอธิบดีออกตามความในมาตรา 31 (4)มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

Saturday, February 10, 2007

กฏหมายว่าด้วยการอนุรักษ์เต่าทะเล

กฏหมายว่าด้วยการอนุรักษ์เต่าทะเลมีมาช้านานแล้ว แต่ขั้นตอนในการปฏิบัติยังประสบปัญหาอยู่ โดยเฉพาะประชาชนชาวไทยยังขาดความเคารพกฏหมายและยังขาดความสำนึกของความสำคัญของการอนุรักษ์เต่าทะเล จึงทำให้ขาดความร่วมมือในการอนุรักษ์อย่างจริงจัง เต่าทะเลยังคงถูกทำลายอยู่เรื่อยๆ ทั้งๆที่มีกฏหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์เต่าทะเลได้แก่
1. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงวันที่ 14 เมษายน 2490 อาศัยอำนาจตามความในมาตร 32 (7) แห่งพระราชบัญญัตฺการประมง พ.ศ. 2490 ห้ามมิให้ผู้ใด จับ ดัก ล่อ ทำอันตราย หรือฆ่าเต่าทะเล และกระทะเลทุกชนิดโดยเด็ดขาด แม้เต่าทะเลและกระนั้นจะติดหรือถูกจับขึ้นมาด้วยเครื่องมือใดๆก็ตามให้ปล่ยลงทะเลไปทันที รวมทั้งห้ามมิให้ผู้ใด เก็บหรือทำลายไข่เต่าทะเล และไข่กระทะเล ทุกชนิดในหาดทุกแห่ง เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาติจากพนักงานเจ้าหน้าที่
2. กฏกระทรวงฉบับที่ 14(2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติ สงวนและคุมครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2530 กำหนดให้เต่ากระเป็นสัตว์ป่าค้มครองประเภท 1 ดังนั้นจึงห้ามฆ่าหรือมีไว้ในครอบครอง ซากของเต่ากระ เว้นแต่ได้รับอนุญาติจากพนักงานเจ้าหน้าที่
3. พระราชกฤษฎีการะบุสัตว์นำ ผลิตภัณฑ์สัตว์นำชนิดห้ามมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้า พ.ศ. 2535 ซึ่งเนือ้หาของกฤษฎีกาครอบคุมรวมทั้งเต่าทะเล และกระทะเล ตลอดจนผลิตภัณฑ์เต่าทะเลและกระทะเลอีกด้วย
4. ประกาศกระทรวงพาณิชญ์ ว่าด้วยการขนส่งสินค้า ออกนอกราชอาณาจักรฉบับที่ 58 ปีพ.ศ. 2534 ข้อความประกาศในกระทรวงพาณิชย์ฉบับนี้ครอบครุมถึง การห้ามส่งออกเต่าทะเล และกระทะเล ตลอดจนผลิตภัณฑ์เต่าทะเลและกระทะเลด้วย
5. ประกาศกรมประมง เรื่องการใช้ประราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ข้อครามในประกาศกรมประมงในฉบับนี้ ได้รวมเต่าทะเลและกระทะเลเป็นสัตว์สงวนเช่นเดียวกันกับสัตว์อื่นๆอีกหลายชนิด
- นอกจากกฏหมายในประเทศหลายข้อที่มุ่งอนุรักษ์เต่าทะเลของไทยแล้ว ยังมีกฏหมายต่างประเทศ ที่เห็นพ้องต้องกัน ให้มีการเข้มงวดในการอนุรักษ์เต่าทะเลของโลกไว้ด้วย ซึ่งมาตรการที่สำคํญได้แก่
- อนุสัญญา CITEH ห้ามประเทศสมาชิกนำเข้าและส่งออก เต่า กระ ซากเต่า และส่วนหนึ่งส่วนใดของเต่า และกระ เพื่อการค้า ซึ่งนับว่าเป็นการร่วมมือกัน อนุรักษ์เต่าทะเลในระดับประเทศ

สถานการณ์เต่าทะเลในประเทศไทย

การอนุรักษ์เต่าทะเล จำนวนของเต่าทะเล ได้ลดปริมาณลงมาตั้งปี พ.ศ.2513 เป็นต้นมา ถึงแม้ว่าการศึกษษและการอนุรักษ์เต่าทะเลจะมีการดำเนินการมาหลายปีแล้ว โดยได้มีการจัดตั้งกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเต่าทะเลของโลกขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512 ในรูปแบบส่วนหนึ่งของสหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union of Conservation of Nature) ในปี 2518 ได้เกิดสนธิสัญญาการค้าสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ระหว่างประเทศ (Convention of International Trade in Endangered Species, CITES) ส่วนหนึ่งได้ประกาศให้เต่าทะเลทุกชนิดพันธุ์เป็นสัตว์ใน APPENDIX I ได้มีการริเริ่มด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อใช้ศึกษาให้เข้าใจถึงชีววิทยาและนิเวศวิทยาของเต่าทะเล เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพในการวางมาตราการอนุรักษ์และป้องกันการลดจำนวนลง HEAD STARTING PROGRAMME ที่ได้ดำเนินการในครั้งแรก คือ การเพาะเลี้ยงเป็นเวลาหลายเดือนแล้วปล่อยลงทะเล แม้ว่าจะมีการพยายามใช้วิธีอนุรักษ์ในรูปแบบต่าง ๆ แต่ปรากฎว่า จำนวนของเต่าทะเล ก็ลดลงเรื่อย ๆ จนถึงจุดวิกฤต ทั้งนี้ เนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งการกระทำโดยเจตนาและอุบัติเหตุ เช่น การวางอวน การลักลอบขุด ไข่เต่าทะเล มลภาวะและการสูญเสียแหล่งวางไข่ สำหรับการเพาะฟักแล้วนำมาเลี้ยงเป็นเรื่องยากที่จะดำเนินการกับเต่ามะเฟือง ซึ่งจะต้องมี การเรียนรู้อีกมาก และที่สำคัญ คือ ยังไม่มีผู้ใดทราบถึงวงจรชีวิตของเต่าทะเลในช่วงที่ใช้ชีวิตในทะเล ส่วนการเพาะเลี้ยงแล้วปล่อยนั้น ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่า สามารถที่จะเพิ่มจำนวนการอยู่รอดได้ ปัจจุบัน โครงการอนุรักษ์เต่าทะเลทั่วโลก ยังคงสนับสนุนการปล่อย ลูกเต่าทะเลทันทีที่ออกจากรัง (จากากรสัมมนาเรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเล ของกลุ่มประเทศอาเซี่ยนและโอเชี่ยนเนีย ณ ประเทศฟิลิปปินส์ 1993)
สำหรับในประเทศไทย จำนวนของเต่าทะเลได้ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ได้มีการบันทึกจำนวนเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่ที่หาดท้ายเหมือง อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา พบว่าในช่วงปี พ.ศ.2513-15 มีเต่าหญ้าและเต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่ปีละมากกว่า 400 ครั้ง แต่ในช่วงระหว่างปี 2533-2535 มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เพียง 20-40 ครั้ง เท่านั้น เป็นการลดจำนวนลงถึงสิบเท่าในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา จากการประสานงานกับอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่และสถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเล จังหวัดภูเก็ต พบว่า จำนวนของเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่มีจำนวนลดลงเช่นเดียวกัน
ดร.จีน มอร์ติเมอร์ (2531) ได้เสนอรายงานถึงกองทุนอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งประเทศไทย และกองทุนอนุรักษ์สัตว์โลกแห่งสหรัฐอเมริกา ถึงจำนวนของเต่าทะเลที่มีในประเทศไทยและสาเหตุของการลดจำนวนลง อีกทั้งได้เสนอแนะวิธีการอนุรักษ์ที่เหมาะสมกว่าการเพาะเลี้ยงแล้วปล่อย คือ การคุ้มครองพื้นที่ถิ่นวางไข่ตามธรรมชาติของเต่าทะเล ไม่ให้ถูกทำลายหรือถูกรบกวน หรือทำให้เสื่อมสภาพ แต่รายงานฉบับนี้ ได้ถูกละเลยไปอย่างน่าเสียดาย
สำหรับบริเวณหาดท้ายเหมืองส่วนที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์เต่ามะเฟือง และเต่าหญ้า ในรูปแบบคืนบ้านให้เต่าทะเล โดยแบ่งการปฏิบัติเป็น 2 ภาค คือ ในช่วงแรก พ.ศ.2535-2538 เน้นเรื่องกลยุทธการป้องกัน ควบคู่กับการประชาสัมพันธ์ โดยการขอความร่วมมือจากทหารเรือ หน่วยงานที่สนใจ โดยเฉพาะอาสาสมัครซึ่งมีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ร่วมกันเดินลาดตระเวนป้องกันการลักลอบขุดไข่เต่าทะเล พร้อมทั้งเริ่มต้นบันทึกข้อมูลทางกายภาพ และพฤติกรรมของเต่าทะเล เพื่อนำไปเป็น แนวทางในการจัดการทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อไป ไข่เต่าทะเลที่พบก็จะนำมาเพาะฟักตามธรรมชาติในเรือนเพาะฟักริมหาด เมื่อออกเป็นตัวก็ ปล่อยให้ลงทะเลตามธรรมชาติ เหลือเก็บไว้ไม่เกิน 10% เพื่อใช้ศึกษาและใช้ในด้านประเพณีช่วงที่สอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 เป็นต้นไป จะไม่อนุญาตให้ผู้ใดรวมทั้งเจ้าหน้าที่เข้าไปรบกวนหาดในฤดูวางไข่ของเต่าทะเล การศึกษา บันทึกข้อมูลก็ให้สังเกตจากบนหอคอย เมื่อพบว่า มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ จึงจะอนุญาติให้นักท่องเที่ยวลงไปชมได้โดยให้อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ การดำเนินการข้าต้นนี้ต่อไปทุกอุทยาน แห่งชาติทางทะเลก็จะได้เป็นแนวทางในการดำเนินการและการจัดการ ไม่เฉพาะแต่เรื่องของเต่าทะเลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสัตว์ที่กำลังสูญพันธุ์ หรือสัตว์หายากประเภทอื่นด้วย

Wednesday, February 7, 2007

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านนำไทย พ.ศ. 2456

พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490ตามมาตรา 28 ทวิ กำหนดให้บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของเรือใช้ หรือยอมให้ใช้เรือของตนทำการประมงละเมิดน่านน้ำของต่างประเทศ และทำให้คนประจำเรือหรือผู้โดยสารไปกับเรือต้องตกค้างอยู่ ณ ต่างประเทศ บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อันเกิดจากการละเมิดน่านน้ำของต่างประเทศ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีจำนวนไม่เกินเจ็ดคนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งค่าวินิจฉัยดังกล่าว กรณีนี้ หากเจ้าของเรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าว ก็จะมีโทษ ตามมาตรา 64 ทวิ ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 ตามมาตรา 28 ซึ่งกำหนดให้คนรับจ้างสำหรับทำการในเรือเดินทะเลคนใด จะเข้าทำการงานหรือมีผู้จ้างทำการงานในเรือกำปั่นชาติสยาม หรือเรือกำปั่นต่างประเทศชาติใดที่ไม่มีกงสุลประจำอยู่ในกรุงสยาม ต้องได้รับอนุญาตเจ้าท่าก่อนจึงทำได้ ถ้าไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ก็จะเป็นความผิดและมีโทษตามมาตรา 290 ซึ่งมีโทษปรับตั้งแต่ 500 บาท ถึง 5,000 บาท ดังนั้นหากลูกเรือประมงทำงานในเรือประมงไทย ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่าก่อนจะเป็นความผิดและมีโทษดังกล่าว ในกรณีนายเรือตามมาตรา 21 กำหนดให้เรือกล ที่เป็นเรือเดินทะเลและเป็นเรือไทย ขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสส์ขึ้นไป เมื่อจะออกจากเขตท่าเรือใดๆ ในน่านน้ำไทย นายเรือต้องแจ้งกำหนดออกเรือต่อเจ้าท่าก่อนออกเรือเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกชั่วโมง เพื่อให้เจ้าท่าตรวจสอบว่าปฏิบัติถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่เสียก่อน เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้วจึงอนุญาตให้เรือออกได้ ถ้าไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้จะเป็นความผิดและมีโทษตามมาตรา 24 ซึ่งมีโทษปรับตั้งแต่ 500 บาท ถึง 5,000 บาท ดังนั้น หากนายเรือนำเรือประมงซึ่งเป็นเรือกลที่เป็นเรือเดินทะเล และเป็นเรือไทยขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสส์ขึ้นไปออกไป โดยไม่แจ้งกำหนดออกเรือต่อเจ้าท่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงก็จะเป็นความผิดและมีโทษ ดังกล่าว